November 5, 2009

Oho idea!! เท็ดดี้กิมจิ "แบร์จังกึม"


Oho idea!! เท็ดดี้กิมจิ "แบร์จังกึม" น่ารักจริง-จริงสำหรับ idea จับเท็ดดี้แบร์มาแต่งชุดบอกเล่าความเป็นมาของคนเกาหลีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

สำหรับ idea นี้มาจากพิพิธภัณฑ์เท็ดดี้แบร์ (Teddy Bear Museum) ประเทศเกาหลีใต้ ไปดูกันว่ามีอะไรบ้าง....

อันยองฮาเซโย....
เสียงใสบวกกับหน้าใสๆ ของสาวเกาหลีกล่าวทักทายต้อนรับอยู่ตรงทางเข้า
พิพิธภัณฑ์เท็ดดี้แบร์ (Teddy Bear Museum) ทำให้อาการเหนื่อยหอบของคณะคลื่นแมกซ์ 103.0 แมกซิมั่มฮิตส์ ที่เดินขึ้นเขานัมซานมาที่หอคอยกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์เท็ดดี้แบร์เมื่อครู่หายเป็นปลิดทิ้ง

พิพิธภัณฑ์เท็ดดี้แบร์ ประเทศเกาหลีใต้ ที่เป็นจุดใหญ่ๆ มีอยู่ 4 แห่ง คือที่เกาะเจจู 2 แห่ง ที่เทือกเขาซอรัก จังหวัดคังวอน และที่โซล ทาวเวอร์ ไม่ว่าน้องหนูจะไปที่ไหนจะได้สัมผัสกับเจ้าหมีน้อยเท็ดดี้แบร์อย่างใกล้ชิดเหมือนกัน

เรื่องเล่าของเยอรมนี
ที่เยอรมนี ปีค.ศ.1902 ริชาร์ด สไตฟ์ นักออกแบบของเล่นในโรงงานของครอบครัวเขาเอง เดินทางไปดูการแสดงละครสัตว์ที่สหรัฐอเมริกา แล้วเขาก็ได้ไอเดีย เอาหมีในคณะละครสัตว์มาเป็นแบบผลิตตุ๊กตาหมี ตุ๊กตาหมีที่เขาออกแบบจะมีข้อต่อตามจุดต่างๆ ได้แก่ คอ แขน และขา ทำให้เปลี่ยนอิริยาบถได้ ต่างจากตุ๊กตาหมีที่มีอยู่ในขณะนั้น

ก่อนเข้าไปด้านในพิพิธภัณฑ์มารู้จักประวัติเท็ดดี้แบร์กันก่อน

มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับต้นกำเนิดของเท็ดดี้แบร์จาก 2 แหล่งคือ เยอร มนี และสหรัฐอเมริกา ในเวลาที่ใกล้เคียงกันคือประมาณปีค.ศ.1902

ริชาร์ด สไตฟ์ นำตุ๊กตาหมีที่เขาออกแบบไปแสดงในงานแสดงสินค้าแต่เขากลับต้องผิดหวังที่ไม่มีคนสนใจตุ๊กตาหมีของเขาเลย
จนวันสุดท้าย ขณะที่เขากำลังเก็บของ ชาวอเมริกันคนหนึ่งเดินเข้ามาดูตุ๊กตาหมีของเขาและสั่งซื้อจำนวนมาก ทำให้ตุ๊กตาหมีของเขาแพร่หลายไปยังประเทศอื่นๆ
เรื่องเล่าอเมริกา
ในปีค.ศ.1902 ที่อเมริกา ประธานาธิบดี ธีโอดอร์ รูสเวลต์ เดินทางไปที่มิสซิสซิปปี้เพื่อเจรจายุติกรณีพิพาทเกี่ยวกับอาณาเขต ในวันหนึ่งท่านได้ออกไปล่าสัตว์ หลายชั่วโมงผ่านไปท่านก็ยังล่าสัตว์ไม่ได้สักตัว
องครักษ์ของท่านที่ตามไปด้วยพบลูกหมีตัวหนึ่งพลัดหลงมา จึงจับลูกหมีตัวนั้นผูกต้นไม้ไว้ และตามประธานาธิบดีมาดูเพื่อมอบให้ แต่ประธานาธิบดีกลับปล่อยลูกหมีให้เป็นอิสระ

ข่าวของประธานาธิบดีปล่อยลูกหมีดังไปทั่ว คลิฟฟอร์ด เบอร์รี่แมน นักเขียนการ์ตูนของหนังสือพิมพ์การเมือง ยังนำไปเขียนลงในหนังสือพิมพ์ ซึ่งจุดประกายให้ มอร์ริส มิชทอม ออกแบบและผลิตตุ๊กตาหมีนำมาวางจำหน่ายที่ร้านของเขาเอง

ปรากฏว่าตุ๊กตาขายดีตั้งโชว์ที่หน้าร้านพร้อมภาพการ์ตูนที่เขียนโดย คลิฟฟอร์ด เบอร์รี่แมน และป้ายข้อความว่า Teddy"s Bear ตุ๊กตาหมีขายดี

จากนั้นเพียงปีเดียว มอร์ริส มิชทอม ได้ปิดร้านและจัดตั้งบริษัท Ideal Novelty and Toy ขึ้น เพื่อรองรับธุรกิจนี้ ซึ่งเป็นบริษัทหนึ่งที่ติดอันดับยักษ์ใหญ่ทางด้านของเล่นของโลกในปัจจุบัน
รู้จักประวัติกันแล้วก็ถึงเวลาเข้าไปดูด้านในกันละทีนี้

จากทางเดินด้านนอกเข้าไป แสงที่สว่างเริ่มสลัวลงเรื่อยๆ เพื่อให้เห็นบรรยากาศการตกแต่งพิพิธภัณฑ์ได้ชัดเจน มีการนำเท็ดดี้แบร์ตัวน้อยมาจัดโชว์เป็นโซน บอกเล่าความเป็นมาของคนเกาหลีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผ่านเจ้าหมีตัวน้อย อาทิ เท็ดดี้แบร์สวมชุดกษัตริย์ราชวงศ์
โชซอน หรือจะเป็นเจ้าหมีร่วมงานพิธีกรรม
ต่างๆ งานเลี้ยงงานแต่ง วิถีชีวิตของชาวเกาหลี
และหลากหลายอิริยาบถที่ถ่ายทอดผ่านตุ๊กตา
เท็ดดี้แบร์

รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในกรุงโซล เจ้าหมีน้อยก็เหมือนเป็นไกด์นำเที่ยวไปในตัว ทั้งคลองชองเกชอน อินซาดง เมียงดง หรือทง แดมุน ที่โดนใจวัยโจ๋หน่อยเห็นจะเป็นโซนเจ้าหมีน้อยบี-บอย อ๊ะ! ต้องเรียก "บี-แบร์" สินะ
ส่วนแฟนๆ แดจังกึม คงจะถูกใจโซนในวัง ที่มีเรื่องราวของอาหาร และมีหมีน้อยที่ใส่ชุดซังกุงยืนดุนางกำนัลที่ทำอาหารหก ขณะที่หมีนางกำนัลอีกตัวกำลังกวาดพื้น ย้อนให้นึกถึง ซีรีส์เกาหลีแดจังกึมที่ฟีเวอร์ในเมืองไทยช่วงก่อนหน้านี้
เอาเป็นว่าใครผ่านมาโซนนี้เป็นต้องหยุดดูแล้วอมยิ้มทุกรายในความน่ารักของ "แบร์จังกึม"
งานนี้ต้องขอบคุณไกด์ "เก่ง วีรพงษ์" แห่ง เคทีซีซี ที่อธิบายในแต่ละโซน จนได้รับรู้ประวัติ วัฒนธรรม การดำเนินชีวิตของชาวเกาหลี ผ่านเจ้าหมีเท็ดดี้ได้อย่างละเอียดยิบ
ระหว่างทางเดินแต่ละโซนจะมีเจ้าหมีตัวเบิ้มยืนเป็นคู่ ใครอดใจในความน่ารักไว้ไม่ไหวจะเข้าไปกอดรัดฟัดเหวี่ยงด้วยความมันเขี้ยวก็ไม่ว่ากัน แล้วตบท้ายด้วยถ่ายรูปคู่
ที่เป็นดาราหน้ากล้องมากที่สุดก็หมีคู่รักที่แต่งตัวเป็น "เจ้าหญิงวุ่นวายกับเจ้าชายเย็นชา" ซีรีส์ฮิตในเมืองไทย (อีกแล้ว)
กำลังเพลินใกล้ถึงทางออกแล้ว แต่ก็ยังส่งท้ายด้วยประวัติเจ้าหมีบนผนังทางเดินออกทั้งสองด้าน
เป็นแอนิเมชั่นน่ารักๆ ปิดท้าย เรียกรอยยิ้มจากเทดดี้แบร์แฟนคลับ ตั้งแต่ทางเข้าจนถึงทางออก...




คอลัมน์ สดจากเยาวชนจุฑามาศ มิ่งแก้ว
ที่มา:
http://www.kaosod.com/

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment

 

Followers

Popular Posts